เมนู

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ ทิพยจักษุ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[24] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตปัจจัย.

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
2. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย.

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
นี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
3. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุ-
ธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

12. อาเสวนปัจจัย


[25] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อาเสวนปัจจัย
เหมือนกับอนันตรปัจจัย.

13. กัมมปัจจัย


[26] 1. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของกัมมปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
2. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
กัมมปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตเหตุทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.